ข้อมูลพื้นฐาน

1.  สภาพทั่วไป

1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลครบุรีใต้   ตั้งอยู่ห่าง  อำเภอครบุรี ประมาณ 12 กิโลเมตร
ทิศเหนือติด   ตำบลครบุรี
ทิศตะวันออกติด   ตำบลอรพิมพ์ , ตำบลจระเข้หิน
ทิศใต้ติด   ตำบลจระเข้หิน
ทิศตะวันตกติด  ตำบลอุดมทรัพย์   กิ่ง อำเภอวังน้ำเขียว ,  ตำบลสะแกราช  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา
1.2  เนื้อที่   เทศบาลตำบลครบุรีใต้   มีเนื้อที่ประมาณ   91.60 ตารางกิโลเมตร หรือ 57,250 ไร่
1.3  ภูมิประเทศ   ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและที่ราบสูง  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ   ราษฎรส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์  ซึ่งเกษตรกรประกอบอาชีพทำนา   โดยอาศัยคลองธรรมชาติ  คลองชลประทาน  หนองน้ำสาธารณะ   และน้ำฝนเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญในการทำเกษตรกรรม
1.4  จำนวนหมู่บ้าน
ตำบลครบุรีใต้มีหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่บ้าน  ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านหนองโสน หมู่ที่ 9 บ้านมาบพิมานพัฒนา
หมู่ที่ 2 บ้านสระผักโพด หมู่ที่ 10 บ้านป่ามะพร้าว
หมู่ที่ 3 บ้านคลองยาง หมู่ที่ 11 บ้านคอกช้าง
หมู่ที่ 4 บ้านซับก้านเหลือง หมู่ที่ 12 บ้านบึงพัฒนา
หมู่ที่ 5 บ้านหนองรังกา หมู่ที่ 13 บ้านสุขสำราญ
หมู่ที่ 6 บ้านครบุรี หมู่ที่ 14 บ้านคุ้มเจริญ
หมู่ที่ 7 บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 15 บ้านคุ้มครอง
หมู่ที่ 8 บ้านดอนใหม่ หมู่ที่ 16 บ้านปรางค์บุรี

1.5  ประชากร  เทศบาลตำบลครบุรีใต้   มีประชากรทั้งสิ้น  7,462 คน แยกเป็น ชาย  3,720 คน  หญิง  3,742 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 83 คน/ตารางกิโลเมตร

ตารางแสดงจำนวนประชากรแยกตามรายหมู่บ้านได้ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อบ้าน

หลังคาเรือน

ประชากร

รวม

ชาย

หญิง

1

บ้านหนองโสน

290

458

424

882

2

บ้านสระผักโพด

171

316

316

632

3

บ้านคลองยาง

321

443

469

912

4

บ้านซับก้านเหลือง

249

335

332

667

5

บ้านหนองรังกา

157

236

251

487

6

บ้านครบุรี

198

344

338

628

7

บ้านหนองหว้า

104

161

168

329

8

บ้านดอนใหม่

108

170

170

340

9

บ้านมาบพิมานพัฒนา

128

183

164

347

10

บ้านป่ามะพร้าว

106

185

192

377

11

บ้านคอกช้าง

79

75

64

139

12

บ้านบึงพัฒนา

84

152

158

310

13

บ้านสุขสำราญ

95

156

169

325

14

บ้านคุ้มเจริญ

191

266

265

531

15

บ้านคุ้มครอง

84

142

145

287

16

บ้านปรางค์บุรี

109

201

216

417

รวม

2,474

3,823

3,841

7,664


2.  สภาพทางเศรษฐกิจ 
2.1  อาชีพ     อาชีพของประชาชนในพื้นที่ตำบลครบุรีใต้   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  และอาชีพรับจ้างทั่วไป  และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ  ดังนี้

1
กลุ่มเกษตรกรทำนากลุ่มครบุรีใต้
มีสมาชิกจำนวน
195
คน
2
กลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลังบ้านดอนใหม่
มีสมาชิกจำนวน
52
คน
3
กลุ่มผลิตบิวเวอร์เรียกำจัดเพลี้ยแป้งบ้านดอนใหม่
มีสมาชิกจำนวน
67
คน
4
กลุ่มปลูกมันสำปะหลังบ้านคุ้มครอง
มีสมาชิกจำนวน
40
คน
5
กลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลครบุรีใต้
มีสมาชิกจำนวน
1,728
คน
6
กลุ่มเพาะเห็ดฟางบ้านสระผักโพด
มีสมาชิกจำนวน
10
คน
7
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านซับก้านเหลือง
มีสมาชิกจำนวน
60
คน
8
กลุ่มเลี้ยงสุกรบ้านมาบพิมานพัฒนา
มีสมาชิกจำนวน
9
คน
9
กลุ่มปลูกมันสำปะหลังบ้านมาบพิมานพัฒนา
มีสมาชิกจำนวน
10
คน
10
กลุ่มปลูกมะเขือเทศบ้านคอกช้าง
มีสมาชิกจำนวน
5
คน
11
กลุ่มเลี้ยงสุุกรบ้านป่ามะพร้าว
มีสมาชิกจำนวน
19
คน
12
กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านคอกช้าง
มีสมาชิกจำนวน
30
คน
13
กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์บ้านดอนใหม่
มีสมาชิกจำนวน
30
คน
14
กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่บ้านครบุรี
มีสมาชิกจำนวน
5
คน
15
กลุ่มผลิตดอกไม้จันทร์บ้านคลองยาง
มีสมาชิกจำนวน
30
คน
16
กลุ่มผลิตของชำร่วยบ้านคุ้มครอง
มีสมาชิกจำนวน
6
คน
17
กลุ่มทำขนมไทยบ้านซับก้านเหลือง
มีสมาชิกจำนวน
10
คน

2.2  หน่วยธุรกิจในเขตตำบลครบุรีใต้

–  ธนาคาร                         –        แห่ง

–  โรงแรม                         3        แห่ง

–  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ              –        แห่ง

–  โรงงานอุตสาหกรรม           1       แห่ง

–  โรงสี                             –        แห่ง

2.3  การใช้ประโยชน์ใรพื้นที่ดิน

–  พื้นที่ทั้งหมด 57,250 ไร่

–  พื้นที่นอกการเกษตร 14,365 ไร่

–  พื้นที่การเกษตร 42,885 ไร่

– ปลูกมันสำปะหลัง 21,560 ไร่

– ปลูกอ้อยโรงงาน 12,425 ไร่

– ปลูกข้าว 7,705 ไร่

– ไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชผักและอื่น 1,195 ไร่

3.  สภาพทางสังคม

3.1 การศึกษา ประกอบด้วยโรงเรียนจำนวน 4 แห่งดังนี้
1)  โรงเรียนบ้านหนองโสน
2)  โรงเรียนบ้านสระผักโพด
3)  โรงเรียนบ้านซับก้านเหลือง
4)  โรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร

 3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
–  วัด / สำนักสงฆ์ 11 แห่ง ได้แก่
1) วัดครบุรี
2) วัดสระผักโพด
3) วัดหนองโสน
4) วัดซับก้านเหลือง
5) วัดป่าครบุรี มงคลวนาราม
6) วัดคุ้มครอง
7) วัดซับยาง
8) สำนักสงฆ์เขาคอกช้าง
9) สำนักสงฆ์บ้านหนองหว้า
10) สำนักสงฆ์ป่ามหาวัน
11) สำนักสงฆ์เทพประทานพร

3.3 สาธารณสุข  
–  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / หมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล ซับก้านเหลือง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4  บ้านซับก้านเหลือง

3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
–  สถานีตำรวจ   ..  แห่ง    ในพื้นที่  ตำบลครบุรีใต้   ไม่มีสถานีตำรวจตั้งอยู่  แต่มีสถานีตำรวจดอนแสนสุข ซึ่งตั้งอยู่ในเขต เทศบาลไทรโยง-ไชยวาล   ห่างจากพื้นที่ตำบลครบุรีใต้  ประมาณ  1.5  กิโลเมตร และตู้ยามตำรวจบ้านซับก้านเหลือง(สายตรวจดอนแสนสุข) 1 แห่ง

4.  การบริการพื้นฐาน
4.1  การคมนาคม สภาพถนนในพื้นที่  ตำบลครบุรีใต้   มีถนนลาดยาง  3  สาย  เป็นถนนลาดยางของโยธาธิการและทางหลวงชนบท.  ถนนคอนกรีตในหมู่บ้านและถนนลูกรัง
4.2 การโทรคมนาคม
–  ที่ทำการไปรษณีย์ชุมชน    1 แห่ง
–  สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ     –  แห่ง

4.3  การไฟฟ้า  การให้บริการด้านไฟฟ้าเขตพื้นที่   ตำบล ครบุรีใต้  มีจำนวน 15  หมู่บ้าน  หมู่ที่ 11 บ้านคอกช้าง ใช้ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์
4.4  แหล่งน้ำธรรมชาติ
–  ลำน้ำ , ลำห้วย 4 สาย ได้แก่ ลำมูล , ลำคลองครบุรี , ลำคลองบง , ลำคลองยาง
–  บึง , หนอง  และอื่น ๆ
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
–  ฝาย           4   แห่ง
–  บ่อน้ำตื้น      –   แห่ง
–  บ่อโยก      10   แห่ง

5.ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 มวลชนจัดตั้ง
–  ลูกเสือชาวบ้าน  1  รุ่น   160   คน
5.2 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
–  ทรัพยากรดินในพื้นที่  ตำบลครบุรีใต้   มีคุณภาพของดินอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง   ใช้ปลูกข้าว
และพืชต่าง ๆ  ได้ผลดีพอควร
–  ทรัพยากรน้ำในพื้นที่  ตำบลครบุรีใต้  มีน้ำดื่มน้ำใช้  ไม่ถึงกับขาดแคลน
–  ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่  ตำบลครบุรีใต้   มีต้นไม้คงเหลือ  5%  ส่วนมากจะเป็นป่าเสื่อมโทรม

6.  ศักยภาพในตำบล 
ศักยภาพของเทศบาลตำบล
(1) บุคลากร
–   ตำแหน่งบริหาร                                                                5 คน
–   ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล                                              12  คน
–   ตำแหน่งพนักงานในสำนักปลัดเทศบาล                                    8  คน
–   ตำแหน่งพนักงานในส่วนกองคลัง                                            4  คน
–   ตำแหน่งพนักงานในส่วนกองช่าง                                            3  คน
–   ตำแหน่งพนักงานในส่วนกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม             5  คน
–   ตำแหน่งพนักงานในส่วนกองสวัสดิการสังคม                               1  คน
–   ตำแหน่งลูกจ้างประจำ                                                        1  คน
–   ตำแหน่งพนักงานจ้างตามภารกิจ/พนักงานจ้างทั่วไป                     9  คน
(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร
–  ปริญญาตรีหรือต่ำกว่า                      32    คน
–  สูงกว่าปริญาตรี                              31    คน

(3) รายได้ของเทศบาลตำบล

ประจำปีงบประมาณ 2560    รายได้ทั้งหมด  44,538,202.16  แยกเป็น
-รายได้ที่จัดเก็บเอง          265,264.80   บาท
-รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ  จัดเก็บให้     18,988,511.58   บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล           25,066,437.00  บาท
-รายได้จากทรัพย์สิน            145,788.78   บาท
-รายได้เบ็ดเตล็ด            72,200.00    บาท

ประจำปีงบประมาณ 2561    รายได้ทั้งหมด  47,176,509.23  แยกเป็น
-รายได้ที่จัดเก็บเอง         355,508.73   บาท
-รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ  จัดเก็บให้     21,039,632.10   บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล            25,498,611.00    บาท
-รายได้จากทรัพย์สิน           180,767.40   บาท
-รายได้เบ็ดเตล็ด           101,990.00    บาท

ประจำปีงบประมาณ 2562    รายได้ทั้งหมด  49,849,819.28  แยกเป็น
-รายได้ที่จัดเก็บเอง          472,186.73   บาท
-รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ  จัดเก็บให้     21,839,282.33   บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล          27,292,131.00   บาท
-รายได้จากทรัพย์สิน          196,739.22   บาท
-รายได้เบ็ดเตล็ด            49,480.00   บาท

ประจำปีงบประมาณ 2563    รายได้ทั้งหมด  49,244,801.55  แยกเป็น
-รายได้ที่จัดเก็บเอง          252,507.04  บาท
-รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ  จัดเก็บให้     20,414,529.31   บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล          28,257,628.00   บาท
-รายได้จากทรัพย์สิน          219,583.20   บาท
-รายได้เบ็ดเตล็ด            10,500.00   บาท

ประจำปีงบประมาณ 2564    รายได้ทั้งหมด  51,711,156.01  แยกเป็น
-รายได้ที่จัดเก็บเอง          118,701.23   บาท
-รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ  จัดเก็บให้     22,009,416.27   บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล          29,371,415.18   บาท
-รายได้จากทรัพย์สิน          174,274.93   บาท
-รายได้เบ็ดเตล็ด            37,348.40   บาท